เกาะสุรินทร์

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะ กลาง(เกาะปาจุมบา) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะ สุรินทร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่่ว่าจะเป็น็ปะการังนานาชนิด ทั้งปะการังผักกาก ปะการังโต๊ะ ปะการังสมอง ปะการังนิ้วมือ ปะการังเขากวาง ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล และ กัลปังหา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย เช่น ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทรปลา ผีเสื้อ เทวรูป ปลาสิงโต เป็นต้น ปละยังพบสัตว์น้ำทะเลที่หายาก เช่น เต่าทะเล ฉลาวาฬ ปลากระเบนราหู กุ้งมังกร นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมูรณ์อย่างมาก โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ป่าประเภทนี้จะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตะเคียนทอง ยางมะพลับ ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประกอบด้วย โพกริ่ง กระทิง ตีนเป็ดทะเล สนทะเล จิกเล ปอทะเล โกงกางหูช้าง คันทรง ขาเปี๋ย สำมะงา รักทะเล ปรงทะเล ลำเจียก หญ้าไหวทามเป็นต้น ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน ประกอบด้วย โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โกงกางหัวสุม ตะบูน ลำแพนหิน ตีนเป็ดทะเล และพืชอิงอาศัยพวกกระแตไต่ไม้และกล้วยไม้บางชนิด

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์นับว่ามีธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งบนบกและในทะเล มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลนมาประจบกับแนวปะการัง แนวปะการังมีความสมบูรณ์ เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น โดยกองหินริเชริว เหมาะสำหรับดำน้ำลึก เป็นแหล่งสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายชนิด มีโอกาสพบฉลามวาฬ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยว คือ เดือนพฤศจิกายนถึง เดือนเมษายน และ หอยมือเสือ ปูเสฉวนนกกระแตผีชายหาด นกชาปีไหน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น บ่าง[3]

หมู่เกาะสุรินทร์ จะเป็นเกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็น ที่บังคลื่นลมได้ดี ทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้น ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ "มอแกน" หรือ "ยิบซีแห่งท้องทะเล" ประมาณ 200 คนปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ

แกลเลอรี่ภาพ
ตารางการเดินทาง
วัน
เวลา
รายละเอียด
08.30
ยินดีต้อนรับสู่ท่าเรือ บริการเครื่องดื่ม ชา,กาแฟ และรับอุปกรณ์ดำน้ำดื้น หน้ากาก ท่อหายใจ
09.00
เดินทางสู่หมู่เกาะสุรินทร์ ด้วยเรือ Speedboat
10.00
ตื่นตาตื่นใจกับโลกใต้ทะเล ชมปะการังและฝูงปลานานาชนิดที่ อ่าวผักกาด กองหินแพ
12.00
อิ่มอร่อยกับอาหารกลางวัน ณ ที่ทำการอุทยานอ่าวช่องขาด จากนั้นพักผ่อนตามอัธยาศัย
13.00
ชมปะการังน้ำตื้นที่สวยงามกับฝูงปลานานาชนิดบริเวณอ่าวสัประรด,อ่าวบอนและเยี่ยมชมหมู่บ้านมอแกน ชนพื้นเมืองที่อาศัยบริเวณหมู่เกาะนี้
15.30
อำลาหมู่เกาะสุรินทร์ เดินทางกลับสู่ท่าเรือ
16.30
ถึงท่าเรือ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
รวม
ค่าบริการนี้รวม
: รถรับส่งที่พัก (เฉพาะเขตเขาหลัก)
: อาหารกลางวัน บนเกาะ (บุฟเฟต์)
น้ำดื่ม+ผลไม้ เสริฟบนเรือ
: เสื้อชูชีพ+หน้ากาก Snorkeling
: ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติสำหรับคนไทย
: มัคคุเทศก์นำเที่ยวทางทะเลประจำเรือ
: ประกันอุบัติเหตุ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้โดยสารทางทะเล 
 อภินันทนาการ : บริการอาหารว่างอีก 1 มื้อ ณ ท่าเรือ
  อาทิ ไอศครีม ขนม ของหวาน เครื่องดื่มเย็นๆ หลังจากกลับมาจากเที่ยวเกาะ  
 
ค่าบริการนี้ไม่รวม  
: ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ Vat 7%
: ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
  ชาวต่างชาติ เพิ่มท่านละ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 300 บาท 
: รับส่งในเขตภูเก็ต หาดป่าตอง, กะตะ, กะรน และตัวเมือง จ่ายเพิ่มท่านละ 300 บาท 
 
หมายเหตุ
: ขอสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หากมีเหตุมาจากสภาพอากาศและคลื่นลมแรง
  ซึ่งทางบริษัทจะคำนึงถึงความปลอดภัยและผลประโยชน์ของท่านเป็นสำคัญ